งานประเมินสภาพโครงสร้าง
Structural Assessment
ในการประเมินโครงสร้างอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะต้องมีการตรวจสอบส่วนต่างๆ ของโครงสร้าง หรือทดสอบโครงสร้างอย่างเหมาะสม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการดำเนินงานขั้นต่อไป โดยในแต่ละโครงการจะมีการใช้วิธีการตรวจสอบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะโครงสร้าง สภาพพื้นที่ทดสอบ วัตถุประสงค์การทดสอบ เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ของการตรวจประเมินโครงสร้างและทดสอบโครงสร้าง ทำให้ส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งเจ้าของโครงการ วิศวกรและผู้รับเหมา มีข้อมูลในการดำเนินงานมากขึ้น และมีความมั่นใจในสภาพโครงสร้างที่มีอยู่
วิธีการตรวจสอบโครงสร้างที่ใช้ในงานประเมินโครงสร้าง มีดังนี้
- งานตรวจพินิจโครงสร้าง (Visual Inspection Test)
- งานตรวจการเอียงตัวของโครงสร้าง (Settlement Survey)
- งานจัดทำแผนที่ความเสียหายของโครงสร้าง (Damage Mapping)
- งานประเมินกำลังอัดคอนกรีตด้วยค้อนกระแทก Schmidt Hammer (Rebound Hammer Test)
- งานประเมินกำลังอัดคอนกรีตด้วยวิธี Ultrasonic Pulse Velocity Test (UPV Test)
- งานประเมินกำลังอัดคอนกรีตด้วยวิธีเจาะเก็บตัวอย่างคอนกรีต (Coring Test)
- งานตรวจหาตำแหน่งเหล็กเสริมและระยะหุ้มคอนกรีต (Ferro Scan Test)
- งานตรวจความแข็งของเหล็กเสริม (Hardness Test)
- งานตรวจหาคุณสมบัติเชิงกลของตัวอย่างเหล็กในห้องปฏิบัติการ (Steel Tension Test)
- งานตรวจการสึกกร่อนของเหล็กเสริมในคอนกรีต (Corrosion Test)
- งานทดสอบแรงดึงของอุปกรณ์ฝังยึดในคอนกรีต (Anchorage Pull Out Test)
- งานตรวจหาอายุการใช้งานคอนกรีต (Carbonation Test)
- งานตรวจหาความยาวของเสาเข็มวิธี Parallel Seismic Test
- งานตรวจสอบฐานรากอาคาร (Foundation Survey)