งานทดสอบ Pull Out test
งานทดสอบกำลังรับแรงดึงและแรงเฉือนของ Anchor bolt ที่ติดตั้งมาในเสาหล่อสำเร็จ เพื่อยืนยันความสามารถของ Anchor bolt ว่ารับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้
งานทดสอบกำลังรับแรงดึงและแรงเฉือนของ Anchor bolt ที่ติดตั้งมาในเสาหล่อสำเร็จ เพื่อยืนยันความสามารถของ Anchor bolt ว่ารับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้
งานตรวจสภาพโครงสร้างเสาเข็มสำเร็จปูนแบบกลวง (Spun pile) ซึ่งตรวจพบรอยแตกตามแนวยาวของเสาเข็ม จึงได้ดำเนินการเข้าไปติดตั้งเครื่องมือติดตามวัดการขยายตัวของรอยแตก และเก็บข้อมูลการสั่นไหวธรรมชาติ (Ambient vibration) ของตอม่อที่ตรวจพบปัญหา
งานตรวจวัดการสั่นสะเทือนของพื้นรับเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือน เพื่อตรวจสอบผลของการสั่นสะเทือนระหว่างการทำงานของเครื่องจักรที่มีผลต่อโครงสร้างพื้น
งานทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกหรืองานทดสอบการแอ่นตัวของโครงสร้าง (Load test) จึงถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจรับงาน โดยมีการสุ่มตรวจกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้าง จากบริเวณที่โครงสร้างจะต้องแบกรับน้ำหนักมากกว่าส่วนอื่นๆ เช่น บริเวณพื้นและคานที่มีโมเมนต์สูง เป็นต้น ซึ่งในการออกแบบ ค่าการแอ่นตัวเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ใช้พิจารณาขนาดของโครงสร้าง ดังนั้นจึงมีการสอบเทียบค่าการแอ่นตัวจากการคำนวณ กับการแอ่นตัวที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้เจ้าของโครงการเชื่อมั่นว่าโครงสร้างดังกล่าวผ่านตามมาตรฐานอ้างอิงที่กำหนด
อาคารหลายแห่งที่ก่อสร้างมานาน มักจะมีสภาพทรุดโทรมเนื่องจากขาดการบำรุงรักษา ซึ่งส่งผลต่อความมั่งคงของโครงสร้าง ทำให้ต้องพิจารณาโครงสร้างเดิมโดยละเอียดว่าสามารถนำมาใช้งานต่อได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ วิธีการหนึ่งที่มีความน่าเชื่อถือในการทดสอบสูง คือ การทดสอบการแอ่นตัวของโครงสร้างโดยใช้น้ำหนักบรรทุกจริง (Load testing) โดยทีมงานวิศวกรผู้ออกแบบจะกำหนดน้ำหนักออกแบบที่จะใช้งานโครงสร้างที่ต้องการทดสอบ และทีมทดสอบจะดำเนินการติดตั้งน้ำหนักบรรทุกกระทำต่อโครงสร้างจริงตามที่ทีมออกแบบหรือที่ปรึกษากำหนดมา
งานสำรวจและประเมินสภาพอาคารสูง 77 ชั้น เป็นการเก็บข้อมูลเชิงไดนามิคของโครงสร้างในสภาวะเริ่มต้น โดยได้ทำการวัดค่าความเร่งการเคลื่อนตัวของตึกจากปล่องบันได ตั้งแต่ชั้นบนสุดจนถึงชั้นล่างสุดและนำมาวิเคราะห์ผลเพื่อบันทึกเป็นความถี่ธรรมชาติของอาคาร และรูปแบบการเคลื่อนตัวขององค์อาคาร (Mode shape)
Ambient Vibration Measurement เป็นการตรวจวัดการสั่นสะเทือนของทั้งโครงสร้างสะพาน เพื่อหาค่าความถี่ธรรมชาติของโครงสร้าง และ Mode shape ของโครงสร้างในแต่ละค่าความถี่ธรรมชาติ โดยสำหรับการวัดประเภทนี้ จะมุ่งเน้นพฤติกรรมที่ความถี่ธรรมชาติไม่เกิน 3 ค่าแรกเท่านั้น เนื่องจากเป็นความถี่ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากแรงกระทำขนาดทั่วไป เช่น ลมพัดระดับปกติ หรือรถวิ่งสัญจรทั่วไป โดยข้อมูลดังกล่าวจะสามารถใช้ในการสอบเทียบกับข้อมูลที่เก็บในปีถัดๆมา ซึ่งถ้าหากว่าโครงสร้างยังอยู่สภาพเดิม ค่าความถี่ธรรมชาติ และ Mode shape จะออกมาในลักษณะเดิม
งานสำรวจสภาพโครงสร้างของโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษจังหวัดสมุทรปราการ
งานทดสอบการรับแรงดัดของแผ่นหลังคาเหล็กขึ้นรูปลอน (Metal Sheet) ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม JIS A 6514 (November 2015)